เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. พลวรรค 2. กูฏสูตร

3. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ)
4. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ)
5. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)

ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต 5 ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

อนนุสสุตสูตรที่ 1 จบ

2. กูฏสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นยอดเหมือนยอดเรือน

[12] ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ1 5 ประการนี้
เสขพละ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธาพละ 2. หิริพละ
3. โอตตัปปพละ 4. วิริยพละ
5. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย เสขพละ 5 ประการนี้แล พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์
รวมแห่งเสขพละ 5 ประการนี้ คือ ปัญญาพละ
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเรือนยอด คือยอด
เรือน แม้ฉันใด พละที่เป็นเลิศ เป็นที่รวม เป็นศูนย์รวมแห่งเสขพละ 5 ประการนี้
คือปัญญาพละ ฉันนั้นเหมือนกันแล
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘เราทั้งหลายจักเป็น
ผู้ประกอบด้วยสัทธาพละ... หิริพละ ... โอตตัปปพละ ... วิริยพละ ... ปัญญาพละ
อันเป็นเสขพละ’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

กูฏสูตรที่ 2 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 2. พลวรรค 4. วิตถตสูตร

3. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยพละโดยย่อ

[13] ภิกษุทั้งหลาย พละ 5 ประการนี้
พละ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธาพละ 2. วิริยพละ
3. สติพละ (กำลังคือสติ) 4. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
5. ปัญญาพละ

ภิกษุทั้งหลาย พละ 5 ประการนี้แล

สังขิตตสูตรที่ 3 จบ

4. วิตถตสูตร
ว่าด้วยพละโดยพิสดาร

[14] ภิกษุทั้งหลาย พละ 5 ประการนี้
พละ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. สัทธาพละ 2. วิริยพละ
3. สติพละ 4. สมาธิพละ
5. ปัญญาพละ

สัทธาพละ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ
ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้
ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็น
สารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาพละ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :17 }